PDPA : ผู้มีเว็บไซต์ต้องทำอะไรบ้าง ปรับตัวยังไง

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในประเทศไทย กฎหมายนี้กำหนดข้อกำหนดและข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของบุคคล และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรต่างๆ ทั้งนี้องค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน PDPA

การปรับเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องรู้และปฏิบัติตาม มาดูกันว่าคุณต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณผ่านมาตรฐาน PDPA

1. ตรวจสอบและประเมินข้อมูลที่เก็บรวบรวม

ก่อนอื่น คุณต้องตรวจสอบข้อมูลที่เว็บไซต์ของคุณเก็บรวบรวม เช่น ชื่อ, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, และข้อมูลการชำระเงิน ตรวจสอบว่าข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บรวบรวมและใช้งานอย่างไร และจำเป็นจริงๆ หรือไม่ การลดจำนวนข้อมูลที่ไม่จำเป็นจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิด PDPA


2. การจัดการคุกกี้ (Cookies)

การใช้คุกกี้เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ทำ:

  • แจ้งผู้ใช้งานเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ โดยแสดงแถบคุกกี้
  • อธิบายว่าคุกกี้คืออะไรและคุณใช้งานอย่างไรในนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
  • ให้ผู้ใช้สามารถยินยอมรับหรือปฏิเสธการใช้คุกกี้ได้


3. นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)

นโยบายความเป็นส่วนตัวควรเขียนให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย โดยควรระบุ:

  • ประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวม
  • วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม
  • ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูล
  • วิธีการใช้ข้อมูล
  • สิทธิของเจ้าของข้อมูล

นอกจากนี้ ควรทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Privacy Policy ได้ง่าย ๆ เช่น ลิงก์ในส่วนท้ายของทุกหน้าเว็บ, หน้า Privacy Policy มักจะแสดงเป็น 1 หน้าบนเว็บไซต์


4. ขอความยินยอมจากผู้ใช้ (Consent)

การขอความยินยอมเป็นขั้นตอนสำคัญของ PDPA คุณต้อง:

  • ในการกรอกข้อมูลส่วน Checkbox ต้องไม่ถูกติ๊กไว้ล่วงหน้า
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูลอย่างชัดเจน ก่อนขอความยินยอม


5. ปรับปรุงระบบความปลอดภัยข้อมูล

ระบบความปลอดภัยควรมีมาตรการที่ทันสมัย เช่น:

  • การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
  • การใช้งาน HTTPS
  • การจัดการสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล (Access Control)
  • การสำรองข้อมูล (Backup)


6. ให้สิทธิ์ผู้ใช้ในการจัดการข้อมูล

PDPA ให้สิทธิ์ผู้ใช้งานในการเข้าถึง แก้ไข และลบข้อมูลส่วนบุคคล คุณควรมีเครื่องมือหรือช่องทางให้ผู้ใช้จัดการข้อมูลของตนเองได้ เช่น หน้าโปรไฟล์หรือแบบฟอร์มติดต่อ


7. เตรียมแผนการตอบสนองเมื่อเกิดข้อมูลรั่วไหล

ควรมีแผนการตอบสนองเมื่อเกิดข้อมูลรั่วไหล (Data Breach Response Plan) ที่ชัดเจน เช่น:

  • แจ้งเตือนผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบ
  • ติดต่อหน่วยงานกำกับดูแล
  • แก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

สรุป

การปฏิบัติตาม PDPA อาจดูซับซ้อนในตอนแรก แต่หากคุณปฏิบัติตามขั้นตอนเรานำมาแนะนำ คุณจะสามารถปรับเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับกฎหมายได้อย่างมั่นใจ และที่สำคัญที่สุดคือสามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพราะเรื่อง Privacy เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

สำหรับผู้ที่ที่ใช้งานเว็บไซต์ WordPress ขอแนะนำปลั๊กอิน PDPA ที่สามารถติดตั้งได้ฟรี Designil PDPA Thailand